อารยธรรมโลกสมัยกลาง (The Middle Ages)
หรือยุคมืด โลกสมัยกลางอยู่ในช่วงระยะเวลา 1,000 ปี ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึง 15 หลังจากที่จักรวรรดิโรมันต้องเสื่อมสลายลง เนื่องจากการรุกรานของอนารยชนเผ่าเยอรมันในปีค.ศ. 476
บริบทโดยทั่วๆไปของยุคกลางจะพบว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่เกิดความไม่แน่นอน ระส่ำระสายเพราะเป็นช่วงระยะเวลาที่บริเวณต่างๆที่เคยขึ้นกับจักรวรรดิโรมันเริ่มมีสิทธิในการดูแลตนเองจากการล่มสลายของโรมัน เมืองต่างๆในยุโรปจึงเริ่มมีการสู้รบเพื่อแย่งชิงดินแดนภายในยุโรปมากขึ้น ประวัติศาสต์สมัยกลางเป็นการเชื่อมต่อระหว่างอารยธรรมโบราณและสมัยใหม่มนุษย์ในสมัยกลางมีทัศนคติและจุดมุ่งหมายในชีวิตผิด ไปจากมนุษยสมัยคลาสสิก (สมัยกรีกและโรมัน) อย่างเห็นได้ชัดเจน ความสนใจของมนุษย์ในสมัยกลางหันไปสู่จุดมุ่งหมายทางคริสต์ ซึ่งขยายตัวเป็นอย่างมากในช่วงจักรวรรดิโรมัน ซึ่งเป็นศาสนาประจำจักรวรรดิโรมันในสมัยพระจักรพรรดิ เกรเลี่ยน เป็นผลให้อิทธิพลของศาสนจักรเริ่มมีการสืบทอดและอำนาจของบาทหลวงเริ่มมีมากขึ้นด้วยนอกจากนี้ ศาสนจักรเป็นผู้ชี้โชคชะตาและอนาคตของมนุษย์
ทั้งนี้เพราะ ชั่วชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย อยู่ภายใต้การดูแลของศาสนจักร มนุษย์จึงดำเนินชีวิตตามทางที่ศาสนจักร กำหนดคนที่คิดนอกเหนือไปจากคำสอนในคัมภร์ไบเบิ้ลหรือแนวสอนของศาสนจักรจะถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีต เป็นแม่มด พ่อมด มีมาตราการลงโทษเช่นการเผาทั้งเป็น และการทรมานต่างๆ ดังนั้นงานสร้างสรรค์อันเป็นมรดกของสมัยกลางจึงแตกต่างไปจากสมัยกรีก – โรมัน มีคำถามที่ตามมาว่า ทำไมคนในยุคกลางจึงเชื่อมั่นในคริสต์ศาสนาอย่างมาก อะไรเป็นแรงจูงใจ อาจพอสรุปได้ว่า การจัดการภายในของศาสนจักรมีรูปแบบที่แน่นอน มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความเป็นระเบียบวินัย สวามารถดำเนินงานต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ ตามความเชื่อขิองคริสต์ศาสนเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนถือกำเนิดขึ้นพร้อมมีความบาปที่ติดตัว จึงเป็นหน้าที่ของพระเยซูและศานุศิษย์ จะต้องเป็นผู้ที่คอยไถ่บาป เพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกับพระเจ้า ดังนั้นศาสนจักรจึงเข้ามามีบทบาทในการดำเนินวัตถุประสงค์ดังกล่าว
ด้วยอิทธิพลของคริสต์ศาสนาที่ปกครองไปทั่วยุโรป เป็นผลให้ในระยะเวลาดังกล่าว ทั่วยุโรปแทบจะเป็นภาพนิ่ง รูปแบบการดำรงชีวิตจะเป็นไปในการทำมาหากินภายในแมนเนอร์ของตนเท่านั้น กระบวนการการค้าที่เคยเฟื่องฟูในช่วงจักรวรรดิโรมันมีปริมาณลดลงแต่มิได้หมายความว่าในภาคการผลิตจะไม่ปรากฏแต่ภาพใต้เงื้อมมือแห่งศาสนจักร รูปแบบทางการผลิตในยุคกลางกลับมีลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจ
การเกษตรในยุคกลางส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการภายใต้ระบบแมนเนอร์( Mannor) ระบบนี้ได้พยายามทำให้การจัดระบบการผลิตแบบเลี้ยงตัวเองเกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในยุคกลางแมนเนอร์แต่ละแมนนอร์ จะมีความห่างไกลกันมาก ดังนั้น ผู้คนที่อยู่ในแต่ละแมนเนอร์ จะมีความผูกพันกับที่ดินและมีความพยายามที่จะทำให้ที่ดินเกิดประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจ ดังนั้น ระะบบคฤหาสน์หรือ แมนเนอร์ จึงเป็นสถาบันหลักในการจัดการนำปัจจัยการผลิตที่สำคัญที่สุด ซึ่งก็คือ คือ แรงงานและที่ดิน เข้ามาใช้ในการผลิต ซึ่งที่ดินถูกถือครองโดยชนชั้นเจ้านายหรือขุนนางเป็นลำดับขั้น อยู่ภายใต้ระบบการถือครองที่ดินที่เรียกว่า ระบบศักดินา ( feudalism) ที่ผู้คนจะทำงานร่วมกันเพื่อหาเลี้ยงชีพจากที่ผืนเดียวกัน เลี้ยงสัตว์ในทุ่งหญ้าเดียวกัน จับปลาในแหล่งน้ำเดียวกัน จ่ายค่าธรรมเนียมให้กับชนชั้นเจ้านายเดียวกัน เจ้าของแมนเนอร์จะแบ่งสรรที่ดิน ออกเป็นสัดส่วน เพื่อเป็นการใช้เพาะปลูกตามฤดูกาลเป็นส่วนของเจ้าของแมนเนอร์เองบ้าง แบ่งให้ผู้อื่นเช่าทำบ้าง
อารยธรรมอิสลาม
ศาสนาอิสลามถือกำเนิดในคาบสมุทรอาหรับในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยมีพระมุฮัมหมัด (ค.ศ.570 – 632) เป็นผู้ประกาศศาสนา ก่อนเกิดศาสนาอิสลาม ชาวอาหรับนับถือ เทพเจ้าหลายองค์ รวมทั้งนับถือธรรมชาติแวดล้อม เช่น น้ำพุ ต้นไม้ และหิน เป็นต้น ปูชนียสถานที่ชาวอาหรับพากันเดินทางมาสักการะเป็นประจำทุกปี คือ วิหารกาบา ในเมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหินศักดิ์สิทธิ์สีดำ คาบสมุทรอาหรับเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างจักรวรรดิไบแซนไตน์กับประเทศต่างๆ ทางแถบมหาสมุทรอินเดีย
ชาวอาหรับได้รวมตัวกันเป็นชาติอิสลามที่ตั้งอยู่บนรากฐานความผูกพันทางศาสนา คำสอนสั้นๆ ของพระมุฮัมหมัดที่ว่า “มุสลิม ทุกคนเป็นพี่น้องกัน” มีความสำคัญในการรวมชาติ รวมพลัง ยุติความแตกแยกระหว่างเผ่า รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้ชาติและศาสนาอิสลาม นอกจากเป็นแรงดึงดูดในการรวมชาติแล้ว ศาสนาอิสลามยังเป็นแรงจูงใจ ของกองทัพมุสลิมที่จะออกทำสงครามขยายอำนาจไปยังดินแดนต่างๆ เพราะชาวมุสลิมเชื่อในคำสอนที่ว่า “รบและเสียชีวิตเพื่อศาสนาจะได้เสวยสุขบนสวรรค์ในชาติหน้า” ดังนั้น ภายในศตวรรษเดียว กองทัพมุสลิมก็สามารถสร้างจักรวรรดิอันกว้างใหญ่ ตั้งแต่เทือกเขา พีเรนีส์ในประเทศสเปน และแอฟริกาเหนือ อียิปต์ ดินแดนต่างๆ ในตะวันออกกลางตลอดเรื่อยมาจนถึงลุ่มแม่น้ำสินธุในอินเดีย
การขยายตัวของอิสลาม
คือ การรวมเอาชนชาติที่มีความเจริญมาก่อนเข้าไว้ในจักรวรรดิ เป็นการรวมเอาวัฒนธรรมที่เด่นๆ ของโลกมารวมไว้ในสังคมเดียวกัน ที่ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาร่วม วัฒนธรรมดังกล่าว คือ วัฒนธรรมกรีก – โรมัน เปอร์เซีย บาบิโลเนีย อียิปต์ ยิว อินเดีย วัฒนธรรมของชนเผ่าเยอรมัน และวัฒนธรรมอาหรับ และจากบรรดาวัฒนธรรมทั้งหลายที่กล่าวมานี้ วัฒนธรรมใหญ่ก็ถือกำเนิดขึ้นมา คือ วัฒนธรรมอิสลาม ซึ่งยังคงรักษาบางสิ่งบางอย่างของขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมเดิมไว้ ความรุ่งโรจน์ทางวัฒนธรรมของอิสลามมาจากความสามารถในการรับเอาส่วนที่ดีที่สุดของวัฒนธรรมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกโลกอิสลาม มาใช้ การศึกษาและแปลงานอมตะของกรีกเป็นภาษาอาหรับก็ดี การแปลงานจากภาษาสันสกฤตก็ดี ทำให้นักศึกษาอาหรับได้ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาและวิทยาการแขนงต่างๆ ของกรีกและอินเดีย ซึ่งเป็นรากฐานของความเจริญงอกงามของวิทยาการอิสลาม ความสำเร็จในด้านศิลปวิทยาการของอิสลามได้มาจากอาหรับ แต่มาจากชนชาติอื่นๆ ที่มีความเจริญมานานแล้วในเปอร์เซีย ซีเรีย เมโสโปเตเมีย อียิปต์ และสเปน ในบรรดาวิทยาการของอิสลาม วิทยาศาสตร์และปรัชญามีความก้าวหน้ามากที่สุด กล่าวโดยสรุป มุสลิมเป็นสะพานเชื่อมอารยธรรมตะวันตกและตะวันออกให้ประสานกันอยู่เป็นเวลาหลาร้อยปี พวกพ่อค้ามุสลิมได้นำความเจริญเผยแพร่ไปยังยุโรปและเอเชีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น