วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การฟื้นฟูและการค้นพบทวีปยุโรป


การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ( Re naissance)

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 14 – 16 เป็นสมัยที่มีการหันกลับไปศึกษาภูมิปัญญาสมัยกรีก – โรมัน จุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูศิลปวิทยาการอยู่ในดินแดนอิตาลี แถบรัฐฟลอเรนส์ เจนัว ปิซ่า และเวนิส การฟื้นฟูศิลปวิทยาการแผ่กระจายจากอิตาลีไปยังตอนเหนือของยุโรป ภายหลังสงครามครูเสด ผู้คนเริ่มเปิดกว้างทางความคิดหลังจากที่ได้มีโอกาสรับรู้เรื่องราวต่างๆ ในโลก การฟื้นฟูความรู้ของกรีกและโรมันทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์แบบใหม่ ผลงานที่สำคัญ ได้แก่ การประดิษฐ์แท่นพิมพ์ เครื่องปั่นฝ้าย เครื่องสีข้าว เข็มทิศ กระสุนปืน มีการศึกษาด้านการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญของสมัยนี้ คือ นิโคลัส คอเปอร์นิคุส ซึ่งกล่าวว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล เป็นการปูทางไปสู่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 16

การค้นพบโลกใหม่

ราวปลายคริสต์วรรษที่ 15 การขยายตัวของการค้าในยุโรป ประสบอุปสรรคต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปสรรคอันเกิดจาก การที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอันมากมาย การเดินทางค้าขายกับตะวันออก โดยเฉพาะอย่างอย่างเมื่อชาวมุสลิมเป็นตัวกลางคอยเก็บผลประโยชน์ จากการใช้เส้นทางการค้า ระหว่างยุโรปกับดินแดนตะวันออก อุปสรรคที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือเรื่องของ เงินและทองคำที่ใช้เป็นทุนสำรองในการแลกเปลี่ยน ไม่พอเพียง บรรดากลุ่มพ่อค้า นายทุน จึงต้องเร่งงหาหนทางต่างๆในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

การพยายามค้นหาเส้นทางการค้าสายใหม่ และบริเวณดินแดนใหม่ที่ประกอบไปด้วยทรัพยากรต่างๆที่จะตอบสนองความต้องวงการดังกล่าวจึงเกิดขึ้น ผลที่ตามมาก็คือ ที่เริ่มปรากฏการออกสำรวจทางทะเลอย่างมากของนักเดินเรือชาวยุโรป ออกเดินเรืออย่างห้าวหาญ การออกสำรวจในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจาก กระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้ใหม่ๆหลังการล่มสลายของแนวคิดแบบ คริสต์ศาสนา การเผยแพร่องค์ความรู้สมัยใหม่ที่แพร่ขยายไปทั่วภาคพื้นยุโรป ล้านแต่เป็นรากฐานของการเดินทางสำรวจดินแดนโพ้นทะเล ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ได้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดสภาพที่ชนชาวยุโรปเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ในช่วงระยะเวลาต่อมา เช่น การล่าอาณานิคม กระบวนการทางการค้าของโลกที่เชื่อมเข้าหากัน การอพยพโยกย้ายของผู้คน การปฏิวัติอุตสาหกรรม ลัทธิจักรวรรดินิยม รวมถึงสงครามโลก ดังนั้นภาพของการการสำรวจทางทะเลจึงเป็นจุดเริ่มที่สำคัญอีกเหตุการณ์หนึ่งของ

โลกสมัยใหม่

การเดินทางสำรวจของนักสำรวจต่างๆที่สำคัญในยุโรป อาทิ แมคเจนแลน โคลัมบัส ล้วนแต่ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก บรรดา กษัตริย์และราชินี ของรัฐชาติต่างๆในยุโรป ได้แก้ สเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศส อังกฤษ โดยเฉพาะ พระราชินี อิสซาเบลล่า แห่งสเปน ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าว สเปนถือเป็นเจ้าอาณานิคมทางทะเล หลังจากสามารถครอบครองดินแดนในบริเวณทวีปอเมริกาใต้ได้ ด้วยปัจจัยของการพยายามขจัดอิทธิพลของมุสลิม และชาวเวนิสออกไปจากผลประโยชน์ทางการค้า เรื่องต่อมา คือการนำเอาคริสต์ศาสนาไปเผยแพร่ยังดินแดนต่างๆ

หลังจากการล่มสลายของระบบศักดินาสวามิภักดิ์ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลายดินแดนในยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน และโปตุเกส ก็ประสบความสำเร็จในการรวมกันเป็นปึกแผ่นเป็นรัฐชาติ (Nation State) ซึ่งรัฐชาติ หมายถึง รัฐที่มีการปกครองเป็นปึกแผ่น มีอาณาเขตที่แน่นอน ประชาชนมีเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีแบบเดียวกัน ปัจจัยสำคัญในการก่อเกิดเป็นรัฐชาติ คือ ความรู้สึกชาตินิยม (Nationalism) ทำให้ประชาชนเกิดความภาคภูมิใจ มีความจงรักภักดีต่อชาติ และพระมหากษัตริย์ของตนเอง รูปแบบการปกครองที่เกิดขึ้นในยุครัฐชาติ

การปฏิวัติอุตสาหกรรม ค.ศ. 18-19

ในช่วงระยะเวลานี้ ยุโรปได้นำโลกเข้าสู่วิถีการผลิตแบบใหม่ มนุษย์เราละทิ้งรูปแบบการผลิตแบบเดิมลงไปคือในภาคเกษตร การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงวิถีแห่งในการเป็นอยู่ของผ็คนในหลายๆด้าน และการเปลี่ยนแปลบลงดังกล่าวนำมาซึ่งการแสวงหาความมั่งคั่งให้กับรัฐต่างๆที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อศตวรรษที่ผ่านมา จนเป็นผลที่ทำให้เกิดกระบวนการแย่งชิงทรัพยากร ตลาด และการแข่งขันทางด้านแสนยานุภาพซึ่งในท้ายที่สุดผลพวงดังกล่าวนำมาสู่การระเบิดขึ้นของสงครามครั้งใหญ่ที่มนุษย์เคยประสบมา ในท้ายสุดช่วงปลายศตวรรษทำให้ดุลย์อำนาจ ในการเป็นศูนย์กลางของโลก ต้องเปลี่ยนมือไปอยู่ในการหมุนของสหรัฐอเมริกา








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น